Summary

กลยุทธ์ปรับตัว SMEs ไทยในยุค TEMU ถล่มตลาด E-Commerce: ทำอย่างไรให้ธุรกิจอยู่รอด

Cover SME-survive-in-temu-eCommerce

ในปี 2566 ตลาด E-Commerce ของไทยมีมูลค่าสูงถึง 5.96 ล้านล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีต่อไป นี่เป็นสัญญาณชัดเจนว่าผู้ประกอบการ SMEs ควรเร่งปรับตัวและเข้ามามีส่วนร่วมในตลาด E-Commerce อย่างจริงจัง

ซึ่งช่วงที่ผ่านมานี้ เราได้เห็นกระแสของ TEMU แพลตฟอร์ม E-Commerce สัญชาติจีน เข้ามาเป็นผู้เล่นใหม่ในประเทศไทย ที่มีของขายแทบจะทุกอย่าง แต่ที่น่ากลัวคือ ราคาสินค้าที่ถูกมาก เนื่องจากเป็นการสั่งและส่งตรงจากโรงงานโดยไม่มีตัวแทน และที่ทำราคาได้ถูกมาก ๆ เพราะแพลตฟอร์มรวมคำสั่งซื้อเพื่อให้ได้ปริมาณมาก ทำให้ราคาลดลงไปอีก ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการไทย

🚨 SMEs ไทยจะรับมืออย่างไร? 🚨

🔑 ตระหนักรู้และเตรียมตัว

การรับรู้ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งสำคัญ รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงในตลาด E-Commerce โดยเฉพาะการมาของ TEMU ที่นำเสนอสินค้าราคาถูกมาก แม้ว่า TEMU จะมีจุดแข็งในเรื่องราคาที่ต่ำ แต่ก็มีจุดอ่อนคือคุณภาพที่อาจต่ำกว่ามาตรฐานและส่วนมากเป็นสินค้าไม่มีแบรนด์

🔑 จงแข่งใน “จุดแข็ง” ของเรา

“หยุดแข่งเรื่องราคา เป็นเรื่องที่สู้ยาก”

สิ่งที่ SMEs ไทยควรทำคือ การสร้างแบรนด์ เป็นการสร้างจุดแข็งให้กับธุรกิจของตัวเอง เป็นการสร้างความลำเอียงให้ลูกค้าเลือกแบรนด์เรา รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพสินค้า เพราะลูกค้าไม่ได้ต้องการสินค้าที่ถูกที่สุดเสมอไป แต่เลือกสินค้าที่รู้สึกดีและมั่นใจในคุณภาพ เลือกแบรนด์ที่สร้างประสบการณ์ที่ดีกว่า

🔑 บุกตลาดใหม่ (Offensive)

นอกจากการปรับตัวป้องกันแล้ว (Defensive) เราอย่าลืมคิดถึงการบุกตลาดใหม่ๆ ขยายไปต่างประเทศด้วย สินค้าที่ดีมีคุณภาพสามารถนำไปแข่งขันได้ในระดับสากล

นอกจากภาคธุรกิจที่มีการปรับตัวและกลยุทธ์แล้ว ทางฝั่งภาครัฐอย่างกระทรวงพาณิชย์ กำลังศึกษาและดูว่าจะทำอย่างไรให้เขามาอยู่ในกติกาของเราและมีความเหมาะสม

ซึ่งในงาน Thailand e-Commerce Expo 2024 ได้มีการเสวนาพูดคุยและนำเสนอนโยบายหลายประเด็นเพื่อช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจของไทยสามารถอยู่รอดได้ อาทิเช่น ทางฝั่งแพลตฟอร์มต้องจดทะเบียนในประเทศไทย เพื่อให้มีรายได้กลับยังประเทศไทย การจ้างงานคนไทย หรือการกำหนดราคาขั้นต่ำ เพื่อให้ธุรกิจไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดนี้

🔍 Data Echooo ขอเสริม

สิ่งสำคัญที่สุดคือการเฝ้าติดตาม (Monitor) และการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภายในองค์กร เช่น การวิเคราะห์ยอดขาย การจัดการสินค้าคงคลัง หรือข้อมูลภายนอกองค์กร เช่น แนวโน้มตลาด การเปลี่ยนแปลงของคู่แข่ง ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวและเติบโตได้แม้ในสภาวะที่ท้าทาย

“เราห้ามโลกไม่ให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่เราสามารถปรับตัวเพื่อเปลี่ยนจากการเอาตัวรอดไปสู่ความสำเร็จได้”

สรุปเนื้อหาจาก Session Exclusive Talk สุดพิเศษ โดย คุณภูมิธรรม (กระทรวงพาณิชย์), คุณซีเค เจิง (Fastwork), Moderator โดยคุณโมชิ (SHIPPOP)

Author

Jatawat Xie

งานหลักเป็น PM งานเสริมเป็น Content Creator ที่สนใจในเรื่องของดาต้า เทคโนโลยี จิตวิทยา การพัฒนาตัวเอง เวลาว่างชอบดูละครเวที ดูคอนเสิร์ต ฟังเพลง