DATA น่าเบื่อจริงหรอ ?
คนส่วนใหญ่รู้สึกดาต้าน้าเบื่อเพราะมีแต่ตัวเลข สถิติ เลยทำให้รู้สึกไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไหร่ แต่จริง ๆ มีหลายเคสที่ดาต้าก็ไม่น่าเบื่อขนาดนั้น ตัวอย่างเช่น
- Spotify Wrapped – ข้อมูลที่ปล่อยมาช่วงท้ายปี สรุปว่าเราฟังเพลงไปเยอะแค่ไหน ฟังเพลงไหนหรือศิลปินไหนบ่อยสุด
- แคมเปญ “Share a Coke” – มีการใช้ข้อมูลชื่อคนที่คนมักตั้ง มาพิมพ์อยู่บนกระป๋อง Coke
ซึ่งถ้าเรารู้วิธีใช้มัน “DATA ไม่ได้น่าเบื่อขนาดนั้น” ซึ่งมี 3 วิธีครีเอทีฟที่ทำให้ดาต้าไม่น่าเบื่อ
- Creative Insight – หา Insight ใหม่ๆ
- Creative Engagement – หาวิธี Interaction แบบใหม่ๆ ที่ไม่น่าเบื่อ
- Creative Communication – หาวิธีสื่อสารให้ไม่จำเจ
เราลองมาดูตัวอย่างแต่ละประเภทกัน
1. Creative Insight
Laugh Tracker
สิ่งที่แย่ที่สุดเวลาไปเที่ยวคือลูกงอแงอยากกลับบ้าน หลายครั้งที่ดูรีวิวก่อนไปที่เที่ยว แต่ก็จะเจอแต่ Fake Review ในรัฐเทนเนสซีมีโครงการที่พัฒนาโดย VMLY&R ร่วมกับ Tennessee Department of Tourist Development สร้างการวัดความสนุกสนานในการท่องเที่ยวผ่านการวัดเสียงหัวเราะของเด็กๆ เพื่อแสดงให้คนเห็นว่าจุดนั้นไม่น่าเบื่อ
Searching for Seville’s special color
แคมเปญของ Tanqueray (London dry gin) ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสีสันที่สดใสของเมืองเซบียา ประเทศสเปน โดยมีการวิเคราะห์สถานที่และอนุสาวรีย์ที่มีชื่อเสียงในเมือง มีการใช้ google street view แล้วนำมาเล่าเรื่องด้วยสีสัน สีของเมือง
Animal Alerts Powered by PetPace
ในประเทศเปรู มีโปรเจกต์ระบบเตือนภัยแผ่นดินไหวที่ใช้ข้อมูลสุขภาพของสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะจากสุนัข เนื่องจากสุนัขมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อม ทำให้ได้ Insight ใหม่ๆ
2. Creative Engagement
IKEA: Buy with your time
Pain points ของ Ikea คือ Store อยู่ค่อนข้างไกลจากตัวเมืองทำให้คนไม่อยากไป ทาง Ikea เลยทำแคมเปญ “Cash or time” สามารถจ่ายด้วยเวลาที่เดินทางจากบ้านมา Ikea ได้
Stella Artois – The Artois Probability
เป็นแคมเปญของเหล้าแบรนด์ Stella Artois ที่ต้องการสื่อว่าตัวเองอยู่มานาน จึงใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์ภาพวาดที่มีชื่อเสียงเพื่อคำนวณความน่าจะเป็นที่เบียร์ที่ปรากฏในภาพนั้นคือ Stella Artois โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ประเภทของแก้ว สถานที่ในภาพ โดยลูกค้าสามารถนำมือถือไปส่องดูในงานศิลปะได้
Address Pollution .org by Central Office of Public Interest
Central Office of Public Interest ร่วมกับ AMVBBDO สร้างเว็บไซต์ addresspollution.org เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศในลอนดอน โดยให้รายงานคุณภาพอากาศที่แสดงผลกระทบด้านสุขภาพและการเงินสำหรับแต่ละที่อยู่ เว็บไซต์นี้ช่วยให้ชาวลอนดอนเข้าใจถึงอันตรายจากมลพิษทางอากาศ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรถึง 10,000 คนต่อปี โดยเชื่อมโยงมลพิษกับราคาทรัพย์สิน ทำให้เจ้าของบ้านเรียกร้องการดำเนินการจากหน่วยงานท้องถิ่นและระดับชาติ
3. Creative Communication
Transparency Card (case study)
เครื่องมือที่พัฒนาโดย Congresso em Foco ในบราซิล ที่ต้องการสร้างความโปร่งใสในการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยประชาชนสามารถติดตามการใช้จ่ายของนักการเมืองเมื่อมีการใช้จ่ายด้วยเงินภาษีของประชาชนได้แบบเรียลไทม์
Wall Street Balls ของ Testicular Cancer Society�
แคมเปญที่ต้องการเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับมะเร็งอัณฑะ โดยใช้สัญลักษณ์ของ Charging Bull ที่ Wall Street ซึ่งเป็นที่นิยมในการถ่ายภาพ โดยใช้การติดตามโพสต์เกี่ยวกับวัวใน Wall Street แล้วตอบกลับด้วยข้อความที่สร้างสรรค์และสนุกสนาน
DATA Storytelling
นอกจากนี้มีหลายสื่อดิจิทัลที่ใช้ข้อมูลและกราฟิกในการเล่าเรื่องสร้างความน่าสนใจและเข้าถึงง่าย เช่น เว็บไซต์ The Pudding , punchup
DATA FRAMEWORK
พี่ต่อจาก Wisesight ได้แจก Framework สำหรับการนำ Data ไปใช้ ไปเล่าเรื่องต่าง ๆ
- What Action You want to know ? เริ่มจากกำหนดก่อนว่า ต้องการจะทำอะไรหรืออยากรู้อะไร
- What data you want to get ? วิธีการเก็บดาต้ามาจาก
- ทางตรง (Direct) ที่ไปเก็บจากการตอบคำถามหรือกระทำอะไรบางอย่าง�
- ทางอ้อม (Indirect)
- Where and How to get data: ใน Consumer Journey มี touchpoint ไหนบ้างที่สามารถเก็บ data ได้บ้าง รวมทั้งมีเครื่องมือหรือเทคโนโลยีอะไรบ้างที่ทำให้ได้ดาต้ามาบ้าง
- How to analyze or use data? เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วจะต้องนำมาจัดการอย่างไรบ้าง วิเคราะห์อะไร แสดงผลอย่างไร ?
- How to create Business Value : ข้อมูลที่วิเคราะห์เสร็จแล้ว สามารถนำไปใช้ทำอะไรเพื่อสร้างประโยชน์เชิงธุรกิจได้บ้าง ?
- Data Policy and governance : ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องอยู่ภายใต้ความถูกต้องและจริยธรรมในการเก็บข้อมูล
สรุปเนื้อหาจาก Session: Data-Driven Creativity โดย คุณพุทธศักดิ์ ตันติสุทธิเวท Deputy Director of Data Research Product, Wisesight ในงาน ‘Wisesight Research Discovery’ Episode 6