เจาะลึก Insight ศิลปะการแสดงไทยที่มากกว่าแค่ความบันเทิงจากรายงาน Thailand Performing Arts

Table of Contents

Data Echooo ร่วมกับ Wisesight จัดทำรายงาน “Thailand Performing Arts Report” ครั้งแรก! ส่องภาพรวมศิลปะการแสดงไทยและการพูดถึงบนโลกโซเชียล

แม้ศิลปะการแสดงจะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Orange Economy) เช่นเดียวกับภาพยนตร์หรือดนตรี แต่ในประเทศไทย กลับยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างเท่าที่ควร ทั้งที่มีศิลปิน และกลุ่มคนรุ่นใหม่ จำนวนมาก รวมตัวกันสร้างสรรค์ผลงานที่เต็มไปด้วยรูปแบบและประเด็นต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจ อาทิเช่น IBM 1401 ที่ชวนสำรวจความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่าง ‘มนุษย์’ กับ ‘เครื่องจักร’, Kiska and other floating creatures ที่พูดถึงประเด็นมนุษย์และธรรมชาติ, before2475 การแสดงที่ชวนตั้งคำถามและสำรวจเหตุการณ์สำคัญของสยามประเทศ

Data Echooo (สื่อที่รวบรวม Insight, Tools และแนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับ Data และ AI) ร่วมกับ Wisesight (ผู้ให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลมิเดีย) เปิดตัวรายงาน “Thailand Performing Arts Report 2024” เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากวงการศิลปะการแสดงไทย ทั้งในมุมของจำนวนการแสดง พฤติกรรมผู้ชม ไปจนถึงการพูดถึงบนโซเชียลมีเดีย โดยมุ่งสำรวจภาพรวมของวงการศิลปะการแสดงในไทยตลอดปี 2567 ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลจากโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ต่าง ๆ หวังสร้างความเข้าใจใหม่ว่า ศิลปะการแสดงไม่ใช่เรื่องเข้าถึงยาก และสมควรได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง

ไฮไลต์จากรายงาน

  • ในรอบปีที่ผ่านมา มีการแสดงเกิดขึ้นถึง 342 เรื่อง มีรอบการแสดงรวมกว่า 1,440 รอบ
  • ละครเวทีถูกพูดถึงบนโซเชียลรวมกว่า 12 ล้าน engagement แต่ส่วนใหญ่มาจากการแสดงค่ายใหญ่
  • หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) คือสถานที่จัดแสดงที่ถูกใช้มากที่สุดทั้งในแง่จำนวนเรื่องและรอบการแสดง
  • ช่วงพีคของจำนวนการแสดงในไทยอยู่ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งมีการแสดงแน่นที่สุดจากเทศกาลละครกรุงเทพ (Bangkok Theatre Festival) 
  • การแสดงส่วนใหญ่เป็น “ละครพูด” (38.7%) รองลงมาคือ “มิวสิคัล” (11.1%)
  • แม้การแสดงส่วนใหญ่กระจุกตัวในกรุงเทพ แต่เชียงใหม่และขอนแก่น เริ่มมีการแสดงมากขึ้น 
  • กาลิเลโอเอซิส และ ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก กลายเป็นพื้นที่ของกลุ่มศิลปินอิสระหน้าใหม่

เวทีเล็ก แต่ใจใหญ่: เรื่องจริงของการ “อยู่รอด” ในวงการนี้

แม้ว่า 78.1% ของการแสดงจะมีการเก็บค่าบัตร แต่ราคาส่วนใหญ่ยังอยู่ในช่วงราคา 201–400 บาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของศิลปินที่จะทำให้ผู้ชมเข้าถึงศิลปะได้ง่าย แต่เพราะสถานที่จัดแสดงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ขนาดเล็ก และจำนวนที่นั่งจำกัด แม้จะ “ขายบัตรหมดทุกที่นั่ง” ก็ยังไม่เพียงพอให้ศิลปินเลี้ยงชีพจากการแสดงเพียงอย่างเดียว ศิลปินส่วนใหญ่ยังต้องอาศัยทุนส่วนตัว และมีอาชีพอื่นเป็นงานหลัก

เสียงของโชว์เล็ก ยังไปไม่ถึงหูของผู้ชมในโลกโซเชียล

แม้มีการพูดถึง “ละครเวที” บนโซเชียลกว่า 12 ล้าน Engagement แต่เสียงส่วนใหญ่ยังคงมาจากโชว์ขนาดใหญ่ เช่น ฟ้าจรดทราย เดอะมิวสิคัล(Scenario & Rachadalai) หรือ นิทานหิ่งห้อย เดอะมิวสิคัล (Siam Pic-Ganesha) ที่ได้รับความสนใจบน TikTok และ Instagram อย่างถล่มทลาย 

ในขณะที่กลุ่มศิลปินอิสระและค่ายเล็กอาจจะยังขาดการวางแผนด้านคีย์เวิร์ด, แฮชแท็ก และกลยุทธ์การตลาด ทำให้การค้นหาโชว์เหล่านี้เป็นเรื่องยาก การเข้าถึงกลุ่มผู้ชมใหม่จึงต้องพึ่งพาการแชร์แบบ Organic เป็นหลัก

“เราเชื่อว่าอุตสาหกรรมศิลปะการแสดงของไทยมีศักยภาพมากกว่าที่หลายคนคิด และสามารถเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องยนต์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ หากได้รับแรงสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐ และสังคม” — ทีมงาน Data Echooo

รายงานนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ที่ชวนให้ทุกภาคส่วนหันมามองศิลปะการแสดงในมุมใหม่ — ไม่ใช่แค่ความบันเทิงเฉพาะกลุ่ม แต่คือวัฒนธรรมร่วมสมัย ที่มีพื้นที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมและเติบโตไปด้วยกัน

ดาวน์โหลด Report ฉบับเต็มฟรี: https://dataechooo.com/thai-performing-arts/

Table of Contents

Picture of Jatawat Xie

Jatawat Xie

งานหลักเป็น PM งานเสริมเป็น Content Creator ที่สนใจในเรื่องของดาต้า เทคโนโลยี จิตวิทยา การพัฒนาตัวเอง เวลาว่างชอบดูละครเวที ดูคอนเสิร์ต ฟังเพลง
Picture of Jatawat Xie

Jatawat Xie

งานหลักเป็น PM งานเสริมเป็น Content Creator ที่สนใจในเรื่องของดาต้า เทคโนโลยี จิตวิทยา การพัฒนาตัวเอง เวลาว่างชอบดูละครเวที ดูคอนเสิร์ต ฟังเพลง